ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ยอมรับตามตรงว่าแม้จะไม่ใช่แฟนบอลเชลซีระดับพันธุ์แท้ แต่การได้เห็นตำนานของทีมอย่าง แฟรงค์ แลมพาร์ด กระเด็นออกจากตำแหน่งไปแบบนี้ มันก็ทำให้น่าเสียใจได้เหมือนกัน แต่ว่าชีวิตต้องเดินไปข้างหน้าต่อ อะไรทำให้เคสของ แลมพ์ กับเชลซี มีบทเรียนให้เราคิดดูบ้าง ผู้มาในจังหวะที่ไม่เหมาะสม ข้อแรกเลยต้องยอมรับว่า การเข้ามาของ แฟรงค์ กับเชลซี แม้จะเหมาะสมกันในเรื่องของตำนานสโมสร เคยเป็นนักเตะที่สร้างความสำเร็จให้กับเชลซีมากมาย แต่ยอมรับตามตรงว่า การเข้ามาของเค้าในช่วงเวลาดังกล่า ไม่เหมาะสมเลย ทั้งสภาพทีมไม่พร้อม สตาร์เบอร์หนึ่งก็เพิ่งย้ายออกไป ซื้อนักเตะไม่ได้ ต้องดันเด็กขึ้นมา สภาพแบบนี้ไม่มีใครอยากมา เราเชื่อว่า แฟรงค์ เองก็รู้ แต่ก็เข้าไปเพื่อช่วยทีมและท้าทายตัวเอง หากเค้ามาในเวลาที่เหมาะกว่านี้ คงไม่โดนแบบนี้ การต่อสู้กับ บอร์ด บริหาร ตอนเป็นนักเตะ สิ่งที่พวกเค้าสู้ก็คือ การแย่งตำแหน่งกับคนในทีม และ การต่อสู้กับคนอื่นเวลาลงสนาม แต่ว่าหากเป็นผู้จัดการทีม นอกจากจะต้องต่อสู้กับทีมอื่นเวลาลงสนามแล้ว เค้าจะต้องต่อสู้กับบอร์ดบริหารด้วย หลายครั้งผู้จัดการทีมต้องโดนไล่ออก เพราะการเมืองในทีมทำให้โดนบีบให้ทำงานไม่ดี จนผลในสนามส่งกระทบอย่างช่วยไม่ได้ การเข้าไปของแลมพ์ เองก็โดนการเมืองเล่นงานด้วยเหมือนกัน คงเป็นบทเรียนให้คิดกันให้ดีก่อนไปรับงานในเชลซีว่าจะจัดการการเมืองภายในทีมอย่างไร การบริหารนักเตะภายในทีม ตอนเป็นนักเตะ เราเล่าไปแล้วว่าแม้จะเป็นกัปตันทีม แต่ก็อาจจะไม่ได้รับผิดชอบเพื่อนในทีมมากนัก แต่ว่าถ้าขึ้นไปเป็นผู้จัดการทีม เค้าต้องบริหารนักเตะภายในทีมด้วย หากนับเฉพาะทีมชุดใหญ่ก็มากถึง 20 กว่าคนแล้ว ไหนจะเหล่าดาวรุ่งที่อาจจะได้ขึ้นมาอีกเป็นพักๆ ซึ่งตรงนี้ แฟรงค์ แม้จะทำได้ดีในการบริหารตัวดาวรุ่งที่ปั้นขึ้นมา แต่กับซีเนียร์ของทีมบางคน เค้าทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไร พอนักเตะไม่ได้ใจ ก็ยากจะคุมสถานการณ์และผลการแข่งขันได้ ก็หวังว่าบทเรียนครั้งนี้ของแลมพ์ จะผลักดันเค้าให้กลายเป็นสุดยอดโค้ชในอนาคตข้างหน้า